1/13/08

การใช้งานคำสั่ง zip และ unzip

เป็นคำสั่งที่ใช้บีบอัดไฟล์ไฟล์ที่บีบอัดบนลีนุกซ์ แล้วสามารถนำไปขยายไฟล์ได้บนวินโดว์โดยใช้ winzip หรือ winrar หรือ ขยายไฟล์ zip ที่มาจากวินโดว์ก็ได้

คำสั่ง zip มี ออปชันมากมายแต่จะไม่พูดถึงในที่นี้จะพูดถึงเพียงออปชันเดียว
ออปชัน -r zip รวมเอาไฟล์ที่อยู่ในไดเรกทอรีย่อยด้วย

การใช้งาน
zip ออปชัน ตั้งชื่อไฟล์ .zip ตามด้วยไฟล์หรือไดเรกทอรีที่ต้องการ zip

[root@training1 backup]# zip -r postgres_backup.zip /usr/local/pgsql/data/
adding: usr/local/pgsql/data/ (stored 0%)
adding: usr/local/pgsql/data/pg_ident.conf (deflated 54%)
adding: usr/local/pgsql/data/postgresql.conf (deflated 65%)
adding: usr/local/pgsql/data/pg_xlog/ (stored 0%)
...
[root@training1 backup]# ls -l
-rw-r--r-- 1 root root 2313921 Jul 18 12:19 postgres_backup.zip


ขยายไฟล์ด้วย unzip
[root@training1 backup]# unzip postgres_backup.zip
Archive: postgres_backup.zip
creating: usr/local/pgsql/data/
inflating: usr/local/pgsql/data/pg_ident.conf
inflating: usr/local/pgsql/data/postgresql.conf
creating: usr/local/pgsql/data/pg_xlog/

ทำอย่างไร ถ้าลืม password root

เคยลืม password root ใช้มั๊ยครับ สมัยผมเล่น Linux ใหม่ๆ ผมลงใหม่เลยครับ เพราะไม่รู้จะทำยังไง ใครที่ใช้ Grub เป็น Boot Loader มีวิธีแก้ครับ

เป็นกรณีของ Red Hat 9 นะครับ Distribution อื่นๆ ก็คล้ายๆ กัน
1.Reboot Linux
2.เมื่อขึ้นหน้าจอ GRUB ให้เลือก linux redhat 9 แล้วกด e
3.ปรากฏรายการขึ้นมา 3 รายการ ให้เลื่อนลูกศร มาที่ kernel กด e เพื่อแก้ไข
4.เพิ่ม ช่องว่าง และ S หรือ s หรือ 1 ท้ายบรรทัดที่ขึ้นต้นด้วย kernel กด Enter
5.ปรากฏรายการขึ้นมา 3 รายการอีกครั้งหนึ่ง ให้กด b เพื่อ บูท linux ที่ได้แก้ไขแล้ว
6.พิมพ์คำสั่ง passwd เพื่อเปลี่ยน password root
7.พิมพ์รหัสผ่านไปใหม่ มันจะไม่ขึ้นข้อความอะไร ให้พิมพ์ไปเลย

อันนี้เป็นการบูท เข้า Single user mode หรือ runlevel 1 เพื่อเปลี่ยน password root

12/21/07

การเขียนโปรแกรมบนลินุกซ์

ส่วน GNU Compiler Collection (GCC) สนับสนุนการเขียนภาษาโปรแกรมที่สำคัญ เช่น ภาษาซี ภาษาซีพลัสพลัส และภาษาจาวา รวมถึงภาษาอื่นๆ รวมถึงมี IDE จำนวนมาก ซึ่งได้แก่ Emacs Vim Eclipse KDevelop Anjuta

การติดตั้ง

การติดตั้งโดยทั่วไป จะติดตั้งผ่านซีดีที่มีโปรแกรมบรรจุอยู่ในแผ่นซึ่งแผ่นซีดีนั้นสามารถหามาได้หลายวิธี เช่นสามารถเบิร์นได้จาก ISO imageที่ ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต หรือสามารถหาซื้อซีดีได้ในราคาถูกโดยอาจจะซื้อรวมหรือแยกพร้อมกับคู่มือ เนื่องจากลิขสิทธิ์ของโปรแกรมเป็นแบบGPL ลินุกซ์จากผู้จัดทำบางตัวเช่น เดเบียน สามารถติดตั้งได้จากโปรแกรมขนาดเล็กผ่านฟลอปปีดิสก์ ซึ่งเมื่อติดตั้งส่วนหนึ่งสำเร็จ ตัวโปรแกรมของมันเองจะดาวน์โหลดส่วนอื่นเพิ่มขึ้นมาผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือสำหรับบางตัวเช่นอูบุนตุ สามารถทำงานได้ผ่านซีดีโดยติดตั้งในแรมในช่วงที่เปิดเครื่อง

การทำงานของลินุกซ์สามารถติดตั้งได้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูง จนถึงเครื่องที่สมรรถนะต่ำ ที่ไม่มีฮาร์ดไดรฟ์หรือมีแรมน้อยโดยทำงานเป็นเครื่องไคลเอนต์โดยที่เครื่องไคลเอนต์ สามารถบูตและเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆผ่านทางเน็ตเวิร์กจากเครื่องเทอร์มินอลเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งวิธีการนี้ยังคงช่วยให้ประหยัดเวลาในการติดตั้งโปรแกรม เพราะติดตั้งเพียงเครื่องเดียวที่เทอร์มินอลเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงราคาของเครื่องไคลเอนต์ที่ไม่จำเป็นต้องมีสมรรถภาพสูงที่ราคาถูกกว่า เครื่องทั่วไป

ส่วนแบ่งทางการตลาด

ส่วนแบ่งการตลาดในปัจจุบันของลินุกซ์มีเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องจากรายงานการวิจัยจาก Company IDC ในปี พ.ศ. 2545 โดย 25% ของเซิร์ฟเวอร์ และ 2.8% ของ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทำ งานระบบลินุกซ์ เนื่องจากคุณสมบัติต่างๆของลินุกซ์ ราคาที่ถูก และระบบความปลอดภัยสูง ทำให้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เติบโตสูงที่สุดในปัจจุบัน

การใช้งาน

การใช้งานดั้งเดิมของลินุกซ์ คือ ใช้เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ แต่จากราคาที่ต่ำ ความยืดหยุ่น พื้นฐานจากยูนิกซ์ ทำให้ลินุกซ์เหมาะกับงานหลาย ๆ ประเภท

ลินุกซ์ ถือเป็นส่วนสำคัญของซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ที่เรียกว่า LAMP ย่อมาจาก Linux, Apache, MySQL, Perl/PHP/Python ซึ่งเป็นที่นิยมใช้เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ และพบมากสุดระบบหนึ่ง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ซึ่งพัฒนาสำหรับระบบนี้คือ มีเดียวิกิ ซอฟต์แวร์สำหรับวิกิพีเดีย

เนื่องจากราคาที่ต่ำและการปรับแต่งได้หลากหลาย ลินุกซ์ถูกนำมาใช้ในระบบฝังตัว เช่นเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ โทรศัทพ์มือถือ และอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ ลินุกซ์เป็นคู่แข่งที่สำคัญของ ซิมเบียนโอเอส ซึ่งใช้ในโทรศัพท์มือถือจำนวนมาก และใช้แทนวินโดวส์ซีอี และปาล์มโอเอส บนเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา เครื่องบันทึกวีดิโอก็ใช้ลินุกซ์ที่ดัดแปลงเป็นพิเศษ ไฟร์วอลล์และเราเตอร์หลายรุ่น เช่นของ Linksys ใช้ลินุกซ์และขีดความสามารถเรื่องทางเครือข่ายของมัน

ระยะหลังมีการใช้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการของซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก ขึ้น ในรายชื่อซูเปอร์คอมพิวเตอร์ TOP500 ของเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดสองอันดับแรกใช้ลินุกซ์ และจาก 500 ระบบ มีถึง 371 ระบบ (คิดเป็น 74.2%) ให้ลินุกซ์แบบใดแบบหนึ่ง

เครื่องเล่นเกม โซนี่ เพลย์สเตชัน 3 ที่ออกในปี พ.ศ. 2549 รันลินุกซ์ โซนียังได้ปล่อย PS2 Linux สำหรับใช้กับเพลย์สเตชัน 2 อีกด้วย ผู้พัฒนาเกมอย่าง Atari และ id Software ก็เคยออกซอฟต์แวร์เกมบนลินุกซ์มาแล้ว

การอ่านออกเสียง

ในขณะที่ในไทยใช้คำว่า "ลินุกซ์" ในหลายประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักนิยมออกเสียงเป็น "ลินิกซ์" หรือ "ไลนิกซ์" โดยพยางค์ท้ายอ่านเหมือนพยางค์ท้ายของคำว่า"ยูนิกซ์" โดยลินัสผู้ที่คิดค้นลินุกซ์ได้กล่าวไว้ว่า "li" อ่านเหมือนเสียงสระอิ /ɪ/ และ "nux" อ่านเสียงสระเหมือนเสียง /ʊ/ ซึ่งคล้ายเสียง "เออะ" ในภาษาไทย ในอินเทอร์เน็ตมีไฟล์ที่เก็บคำพูดของลินัส ที่พูดว่า "Hello, this is Linus Torvalds, and I pronounce Linux as Linux" เสียง เก็บไว้เนื่องจากมีการโต้เถียงกันมากในเรื่องการออกเสียง

ถึงแม้ว่ามีการออกเสียงออกไปอย่างมากมาย ลินัสได้เคยกล่าวไว้ว่า การอ่านออกเสียงถูกหรือผิดไม่สำคัญ เพราะทุกคนเข้าใจตรงกันว่าหมายถึงอะไร